คนที่คุณอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่าง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือ ธรรมนัส พรหมเผ่า

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
พิธาเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2523[1] เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 2 คนของ นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ นางลิลฎา ลิ้มเจริญรัตน์ และยังมีศักดิ์เป็นหลานลุงของนาย ผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตามใจ ขำภโต อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นญาติฝ่ายมารดา[2] โดยมีน้องชาย 1 คนคือ เทียน-ภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ พิธา เข้าเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น จากนั้นไปศึกษาต่อชั้นมัธยมตอนปลายที่ประเทศนิวซีแลนด์ และจบปริญญาตรี สาขาการเงิน (ภาคภาษาอังกฤษ) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท การเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ ที่ John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญาโท การบริหารธุรกิจ Sloan สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ งานการเมืองพิธาก้าวเข้าสู่วงการเมืองด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคในลำดับที่ 4 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรกที่ลงรับเลือกตั้ง การอภิปรายครั้งแรกในสภาของเขาเรื่องนโยบายทางการเกษตรของรัฐบาล โดยเฉพาะปัญหา กระดุม 5 เม็ด ได้รับการตอบรับที่ดีจาก ประชาชน ผู้ชมผู้ฟังการประชุมสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงขนาดที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังเอ่ยปากชื่นชม[8] ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ในวันที่ 8 มีนาคม พิธาก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลร่วมกับอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่อีก 54 คน โดยพิธาจะเป็นหัวหน้าพรรค
Statistics for this Xoptio

ธรรมนัส พรหมเผ่า
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า[a] (เกิด 18 สิงหาคม 2508) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารบกชาวไทย หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้แก้ปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลทหาร[5] และเขาเคยเรียกตนเองว่าเป็นเส้นเลือดสำคัญในรัฐบาลผสม ธรรมนัสเริ่มงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย[13] แต่การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ[14] ต่อมาเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ายึดอำนาจ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ คสช. มีคำสั่งเรียกมารายงานตัว[15] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ธรรมนัสได้เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ภาคเหนือของพรรค และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขตที่ 1 โดยชนะอรุณี ชำนาญยา เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคเพื่อไทย[16] ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคเศรษฐกิจไทย ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐมีมติขับเขา และ ส.ส. อีก 21 ออกจากพรรค และในวันที่ 10 มิถุนายน ปีเดียวกัน เขาได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทย ให้เป็นหัวหน้าพรรค สืบต่อจากพลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น