คนที่คุณอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่าง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หรือ อนุทิน ชาญวีรกูล
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
พิธาเกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2523[1] เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 2 คนของ นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ นางลิลฎา ลิ้มเจริญรัตน์ และยังมีศักดิ์เป็นหลานลุงของนาย ผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตามใจ ขำภโต อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นญาติฝ่ายมารดา[2] โดยมีน้องชาย 1 คนคือ เทียน-ภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์ พิธา เข้าเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น จากนั้นไปศึกษาต่อชั้นมัธยมตอนปลายที่ประเทศนิวซีแลนด์ และจบปริญญาตรี สาขาการเงิน (ภาคภาษาอังกฤษ) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท การเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ ที่ John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญาโท การบริหารธุรกิจ Sloan สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ งานการเมืองพิธาก้าวเข้าสู่วงการเมืองด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคในลำดับที่ 4 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรกที่ลงรับเลือกตั้ง การอภิปรายครั้งแรกในสภาของเขาเรื่องนโยบายทางการเกษตรของรัฐบาล โดยเฉพาะปัญหา กระดุม 5 เม็ด ได้รับการตอบรับที่ดีจาก ประชาชน ผู้ชมผู้ฟังการประชุมสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงขนาดที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังเอ่ยปากชื่นชม[8] ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ในวันที่ 8 มีนาคม พิธาก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลร่วมกับอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่อีก 54 คน โดยพิธาจะเป็นหัวหน้าพรรค
Statistics for this Xoptio
นายอนุทิน ชาญวีรกูล
อนุทิน ชาญวีรกูล (ชื่อเล่น: หนู; เกิด: 13 กันยายน พ.ศ. 2509) รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ กรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาพรรคการเมืองเพื่อการปฏิรูปประเทศตามรัฐธรรมนูญ ตามคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ 14/2560 อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข[2] เป็นนักการเมืองที่เคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย ซึ่งถูกยุบในปี พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2539 เข้าสู่วงการการเมืองโดยการรับตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประจวบ ไชยสาส์น) และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2547) ต่อมาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย เขาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ในปี พ.ศ. 2555 หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555[10] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1[11] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[12] สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 นายอนุทิน และพรรคภูมิใจไทย ได้เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ จัดตั้งรัฐบาล โดยเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข