คนที่คุณอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่าง ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ แพทองธาร ชินวัตร
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น ตู่ เป็นนักการเมืองและอดีตนายทหารบกชาวไทย อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเป็นคณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศไทยในปี 2557 ถึง 2562 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน เขาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และปรปักษ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน–พฤษภาคม 2553[2] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[3] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[4] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เขาอ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[5] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหาร[6] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับประยุทธ์วางแผนโค่นทักษิณด้วยตั้งแต่ปี 2553[7] วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูก คสช. เลือกมาทั้งหมด[8] คสช. สั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[9] ในปี 2561 มีหนังสือประวัติศาสตร์กล่าวว่าเขาปฏิรูปประชาธิปไตย และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในปี 2562 รัฐสภาลงมติเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย โดยรวมสมาชิกวุฒิสภาทุกคน และพรรคร่วมรัฐบาล 19 พรรคในสภาผู้แทนราษฎร
Statistics for this Xoptio
แพทองธาร ชินวัตร
แพทองธาร ชินวัตร (ชื่อเล่น: อุ๊งอิ๊งค์; เกิด: 21 สิงหาคม พ.ศ. 2529) ประธานคณะที่ปรึกษาด้านการมีส่วนร่วมและนวัตกรรม พรรคเพื่อไทย บุตรสาวคนสุดท้อง ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทยกับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร แพทองธาร ชินวัตร สำเร็จการการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ และโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ปริญญาตรีรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2551 และศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ สาขาวิชา Msc International Hotel Management ที่ Surrey University แพทองธารเป็นผู้ถือหุ้นอันดับ 1 บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น และกรรมการมูลนิธิไทยคม เธอสมรสกับปิฎก สุขสวัสดิ์ มีบุตร 1 คน ในการประชุมของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 เธอได้รับตำแหน่ง "หัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย"[2] สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง วิเคราะห์ว่าตำแหน่งดังกล่าวเป็นการทะลายข้อจำกัดในการดำเนินงานของพรรคการเมือง และว่าเป็นการปูทางให้พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อแพทองธารเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งถัดไป[3] ด้านแพทองธารกล่าวในการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคเพื่อไทยเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 ระบุว่าหัวหน้าครอบครัวกับหัวหน้าพรรคเป็นคนละตำแหน่งกัน แต่มิได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าเธอจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยหรือไม่