คนที่คุณอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่าง ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ ธรรมนัส พรหมเผ่า
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น ตู่ เป็นนักการเมืองและอดีตนายทหารบกชาวไทย อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเป็นคณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศไทยในปี 2557 ถึง 2562 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน เขาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และปรปักษ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน–พฤษภาคม 2553[2] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[3] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[4] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เขาอ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[5] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหาร[6] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับประยุทธ์วางแผนโค่นทักษิณด้วยตั้งแต่ปี 2553[7] วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูก คสช. เลือกมาทั้งหมด[8] คสช. สั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[9] ในปี 2561 มีหนังสือประวัติศาสตร์กล่าวว่าเขาปฏิรูปประชาธิปไตย และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในปี 2562 รัฐสภาลงมติเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย โดยรวมสมาชิกวุฒิสภาทุกคน และพรรคร่วมรัฐบาล 19 พรรคในสภาผู้แทนราษฎร
Statistics for this Xoptio
ธรรมนัส พรหมเผ่า
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า[a] (เกิด 18 สิงหาคม 2508) เป็นนักการเมืองและอดีตทหารบกชาวไทย หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาเป็นผู้แก้ปัญหาทางการเมืองให้แก่รัฐบาลทหาร[5] และเขาเคยเรียกตนเองว่าเป็นเส้นเลือดสำคัญในรัฐบาลผสม ธรรมนัสเริ่มงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี พ.ศ. 2542 ต่อมาในปี พ.ศ. 2557 ได้ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย[13] แต่การเลือกตั้งดังกล่าวเป็นโมฆะ[14] ต่อมาเมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ายึดอำนาจ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่ คสช. มีคำสั่งเรียกมารายงานตัว[15] ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 ธรรมนัสได้เข้าร่วมกับพรรคพลังประชารัฐ โดยได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการยุทธศาสตร์ภาคเหนือของพรรค และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพะเยา เขตที่ 1 โดยชนะอรุณี ชำนาญยา เจ้าของพื้นที่เดิมจากพรรคเพื่อไทย[16] ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ธรรมนัส พรหมเผ่า ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดพะเยา สังกัดพรรคพลังประชารัฐ → พรรคเศรษฐกิจไทย ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2565 คณะกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐมีมติขับเขา และ ส.ส. อีก 21 ออกจากพรรค และในวันที่ 10 มิถุนายน ปีเดียวกัน เขาได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกพรรคเศรษฐกิจไทย ให้เป็นหัวหน้าพรรค สืบต่อจากพลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ที่ลาออกไปก่อนหน้านั้น