คนที่คุณอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย ระหว่าง ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือ กรณ์ จาติกวณิช
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2497) ชื่อเล่น ตู่ เป็นนักการเมืองและอดีตนายทหารบกชาวไทย อดีตหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งก่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเป็นคณะรัฐประหารที่ปกครองประเทศไทยในปี 2557 ถึง 2562 เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 29 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน เขาเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร เข้ารับราชการครั้งแรกที่กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จากนั้นได้รับราชการในสังกัดกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ตามลำดับ นอกจากนั้นเขายังอยู่ในกลุ่มทหารบูรพาพยัคฆ์และทหารเสือราชินี เขาเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารบกซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2553 ถึงตุลาคม 2557 หลังการแต่งตั้ง เขามีลักษณะนิยมเจ้าอย่างเข้มข้น และปรปักษ์ของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ถือได้ว่าเขาเป็นสายแข็ง (hardliner) ในกองทัพ เป็นผู้สนับสนุนแนวหน้าของการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน 2552 และเมษายน–พฤษภาคม 2553[2] ต่อมาเขามุ่งวางตนเป็นกลาง โดยพูดคุยกับญาติผู้ประท้วงที่เสียชีวิตในเหตุการณ์[3] และร่วมมือกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์[4] ซึ่งชนะการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม 2554 ระหว่างวิกฤตการณ์การเมืองซึ่งเริ่มในเดือนพฤศจิกายน 2556 ต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เขาอ้างว่ากองทัพเป็นกลาง[5] และจะไม่รัฐประหาร ทว่า เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์รัฐประหาร[6] สุเทพ เทือกสุบรรณเปิดเผยว่า ตนกับประยุทธ์วางแผนโค่นทักษิณด้วยตั้งแต่ปี 2553[7] วันที่ 21 สิงหาคม 2557 สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติเอกฉันท์เลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งสมาชิกสภานั้นถูก คสช. เลือกมาทั้งหมด[8] คสช. สั่งปราบปรามผู้เห็นแย้ง ห้ามการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับประชาธิปไตยและการวิจารณ์รัฐบาล จำกัดเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศไทยอย่างหนัก[9] ในปี 2561 มีหนังสือประวัติศาสตร์กล่าวว่าเขาปฏิรูปประชาธิปไตย และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง ในปี 2562 รัฐสภาลงมติเลือกเขาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย โดยรวมสมาชิกวุฒิสภาทุกคน และพรรคร่วมรัฐบาล 19 พรรคในสภาผู้แทนราษฎร
Statistics for this Xoptio
กรณ์ จาติกวณิช
กรณ์ จาติกวณิช (เกิด: 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507) เป็นหัวหน้า พรรคกล้า อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากรูปร่างที่สูงถึง 193 เซนติเมตร ทำให้ได้สมญานามจากสื่อมวลชนว่า "หล่อโย่ง" ซึ่งตั้งให้เข้าชุดกับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีสมญานาม "หล่อใหญ่" และสมาชิกพรรครุ่นใหม่คนอื่นๆ เช่น อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อเล็ก" และหม่อมหลวงอภิมงคล โสณกุล ที่ได้รับสมญานามว่า "หล่อจิ๋ว" ต้นปี พ.ศ. 2549 กรณ์ จาติกวณิช มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ปของ ตระกูลชินวัตร และดามาพงษ์ โดยได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ให้เป็นหัวหน้าคณะทำงานตรวจสอบการขายหุ้นชินคอร์ป ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าวถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีความเกี่ยวพันกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในประเด็นการซุกหุ้น และหลีกเลี่ยงภาษี จนนำไปสู่คำพิพากษาตัดสินยึดทรัพย์อดีตนายกฯ ในที่สุด ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 กรณ์ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ในเขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร (เขตบางคอแหลม ยานนาวา คลองเตย และวัฒนา) และภายหลังการจัดตั้ง รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ทำให้ พรรคประชาธิปัตย์ มีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์จึงประกาศจัดตั้ง คณะรัฐมนตรีเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น เพื่อติดตามตรวจสอบ และเสนอแนะการบริหารงานของรัฐบาล ตามรูปแบบที่มีในต่างประเทศ กรณ์ในฐานะแกนนำทีมเศรษฐกิจ ได้รับเลือกจากทางพรรคให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเงา เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ กรณ์ จาติกวณิช ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ทางด้านการทำงานในสภาผู้แทนราษฎร กรณ์ จาติกวณิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ประธานคณะกรรมาธิการการเงินการคลังและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ต่อมาเมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 กรณ์ จาติกวณิช ได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [1] ในรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ครม.คณะที่ 59) ช่วงปี 2551-2553 ประเทศไทยประสบวิกฤตการเงินโลกแฮมเบอร์เกอร์ที่ลุกลามมาจากสหรัฐอเมริกา กรณ์ จาติกวณิช ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจรัฐบาลแก้ไขวิกฤตด้วยมาตรการไทยเข้มแข็ง จนกระทั่งประเทศไทยฟื้นจากวิกฤตเร็วเป็นอันดับ 2 ของโลก พลิกตัวเลข GDP จากติดลบสองหลักเป็นบวก 7.8% ภาคการส่งออกเติบโตก้าวกระโดด 28.5% จนนายกรณ์ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีคลังโลก โดยนิตยสารเครือ The Banker : Financial Times คนแรกของประเทศไทย ใน การเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายกรณ์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ แต่ในการประชุมใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 นายกรณ์กลับไม่ได้ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ต่อมาในวันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 นายกรณ์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์มีผลในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563