โหวตนักการเมืองของคนรุ่นใหม่
พรรคเพื่อไทย
พรรคเพื่อไทย (ย่อ: พท.) เป็นพรรคที่จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550[11] โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 พรรคนี้มีสมาชิกทั้งหมด 22,771 คน[12] ตราสัญลักษณ์ของพรรคเพื่อไทย (พ.ศ. 2551-10 ตุลาคม พ.ศ. 2563) สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารโอเอไอ ทาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม[13]
Statistics for this Xoptio
พรรคก้าวไกล
พรรคก้าวไกล (อังกฤษ: Move Forward Party; อักษรย่อ: ก.ก., MFP.) เป็นพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 โดยใช้ชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคผึ้งหลวง ในปี 2562 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. 2563 ภายหลังจากที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบและสมาชิกส่วนใหญ่ย้ายมาสังกัดพรรคก้าวไกล บทบาททางการเมือง หลังจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ ส.ส. จำนวนหนึ่งได้ย้ายมาอยู่กับพรรคก้าวไกล โดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กล่าวยืนยันว่าพวกเขาจะสานต่ออุดมการณ์ของพรรคอนาคตใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการ "ยึดมั่นประชาธิปไตย ต่อต้านการรัฐประหาร" และการ "ผลักดันนโยบายที่ก้าวหน้าต่อไป" [10] ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส. พรรคก้าวไกล ได้กล่าวว่าพรรคก้าวไกลจะเน้นทำงานการเมืองในสภาและในระดับประเทศเป็นหลัก และการที่คณะก้าวหน้าทำงานในการเมืองท้องถิ่นนั้น "ไม่ได้เป็นเชิงยุทธศาสตร์ทางการเมืองใด ๆ ทั้งสิ้น ในทางกลับกันแล้วคณะของคุณธนาธร และอาจารย์ปิยบุตร ควรจะได้ทำงานในสภา แต่เมื่อไม่เป็นเช่นนั้น ก็ต้องทำงานการเมืองด้านอื่นแทน อย่างการส่งผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น"[11] อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565 พรรคก้าวไกลได้ส่ง วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. พรรคก้าวไกล ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[12] และส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครครบทุก 50 เขต[13] ในวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า ที่เสนอโดย เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร ส.ส. พรรคก้าวไกลเข้าสู่วาระแรก[14] และในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีมติรับหลักการร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดย ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส. พรรคก้าวไกล พร้อมกับร่างของฝ่ายรัฐบาลอีกสามร่างเข้าสู่วาระแรก[15] ทั้งสองร่างกฎหมายนี้ถูกเสนอโดยฝ่ายค้าน แต่กลับมี ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลร่วมโหวตเห็นด้วยในจำนวนหลักสิบ[16][17] และเป็นกฎหมายแบบพิพัฒนาการนิยมและประชาธิปไตยสังคมนิยม ที่มีจุดมุ่งหมายลดการผูกขาดของทุนใหญ่ และสร้างความเท่าเทียมในสังคมตามลำดับ[18]